ปลาไหลมอเรย์ ( Moray Eel )

by 22:46


ปลาทะเลในแนวปะการังหลายชนิดเป็นสัตว์กินเนื้อ มีฟันแหลม คม โดยเฉพาะปลาไหลมอเรย์ หรือปลาไหลทะเล หรือในภาษาอังกฤษ เรียกว่า Moray Eel

ปลาไหลมอเรย์ มีลำตัวยาว รูปร่างเหมือนงู ผิวหนังเรียบ หนา ลื่น ไม่มีเกล็ด มีสีเหลืองอมน้ำตาล แต้มด้วยจุดและลายสีน้ำตาลไหม้อยู่ทั่วไป ด้านข้างลำตัวบริเวณคอมีจุดสีดำเด่นชัด 1 แห่ง ช่องเหงือกมองเห็นไม่ชัดเจน มีตาที่น่ากลัว เขี้ยวแหลม มักจะอ้าปากเป็นระยะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการหายใจ มักซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินในเวลากลางวัน และออกจากซอกหินให้เห็นตัวเต็มๆ เพื่อหากินในเวลากลางคืน เป็นปลาที่ไม่อันตราย หากไม่อยู่ในฤดูผสมพันธุ์



อาหารประจำของปลาไหลมอเรย์เป็นสัตว์ขนาดเล็กพวกกุ้ง ปู ปลาขนาด เล็ก และปลาหมึก โดยเฉพาะหนวดปลาหมึกยักษ์ (Octopus) ที่เจอกันเมื่อไหร่เป็นต้องเข้าไปพันตูกัน จนหนวดขาดหรือบาดเจ็บกันไปข้างนึง

การออกหาอาหาร หรือล่าเหยื่อจะใช้การดมกลิ่มและประสาทสัมผัสที่ยอดเยี่ยมที่ธรรมชาติให้มา ทดแทนตามองไม่ค่อยเห็น แถมมีสัญชาตญาณที่สามารถแยกแยะได้ว่าเหยื่อที่กำลังเผชิญหน้านั้นอ่อนแอ หรือกำลังจะตาย ซึ่งก็เป็นที่แน่นอนว่ามันมักจะเลือกเหยื่อที่อ่อนแอที่สุด

ปลาไหลมอเรย์ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศแบบภายนอกร่างกาย โดยที่ตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาในน้ำ แล้วตัวผู้ก็ปล่อยสเปิร์มเข้าไปผสม

แม้ว่าในยามปกติปลาไหลมอเรย์จะไม่โจมตีนักดำน้ำ แต่ก็มีรายงานว่ามีนักดำน้ำถูกปลาไหลมอเรย์กัด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการไปให้อาหารปลาไหล หรือเข้าไปแหย่นิ้วเล่น แล้วชักนิ้วออกไม่ทัน ถึงแม้ว่าปลาไหลมอเรย์ไม่มีเขี้ยวพิษอย่างงูทะเล แต่เมือกในปากของปลาก็เป็นพิษอ่อนๆ ทำให้บาดเจ็บและติดเชื้อได้ เพราะฉะนั้นข้อพึงระวังสำหรับนักดำน้ำหรือนักท่องเที่ยว ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้ปลาไหลมอเรย์คิดว่าเราเป็นอาหาร หรือคิดว่านิ้วเราเป็นหนวดปลาหมึก เมื่อถูกกัดจะเกิดบาดแผลลึกจากเขี้ยวของปลา ทำให้เลือดออกมาก และอาจหมดสติได้ ต้องนำผู้ป่วยขึ้นจากน้ำ ห้ามเลือด และรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์โดยเร็ว แผลที่ถูกกัดมักมีขนาดลึกต้องรีบทำความสะอาดแผลให้ทั่วถึง






ฉลามเสือดาว ( Leopard Shark )

by 20:09

     

ฉลามเสือดาว หรือ Leopard Shark นั่นมีอีกชื่อหนึ่งว่า Zebra Shark เพราะว่าเมื่อตอนเด็กลวดลายบนลำตัวของมันจะคล้ายกับม้าลายและในน่านน้ำเขตอบอุ่นแถบอเมริกา มีฉลามอีกสายพันธุ์หนึ่งที่เรียกว่า Leopard Shark เหมือนกัน (แต่หน้าตาไม่เหมือนกัน ) ทำให้บางคนเรียก ฉลามเสือดาวว่า Australian Leopard Shark เพราะเป็นฉลามที่พบในแถบอินโดแปซิฟิก รวมไปถึงทางตอนเหนือของออสเตรเลียที่มีฉลามชนิดนี้ชุกชุม เมืองไทยนั้นหาดูได้ยากขึ้น


   
         ปลาฉลามเสือดาวเป็นปลาที่มีครีบหางยาวมาก มีส่วนหัวสั้นทู่ พื้นลำตัวสีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสือดาว จึงเป็นที่มาของชื่อ เมื่อยังเล็กอยู่ ลายบนลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลดำคาดขาวคล้ายลายของม้าลาย ขนาด: ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ประมาณ 3 เมตร สี: พื้นลำตัวสีเหลืองสลับลายจุดสีดำคล้ายลายของเสือดาว, ลักษณะ: ลำตัวยาว ตาขนาดเล็กอยู่ข้างหัว ปากอยู่ด้านล่าน แต่ไม่เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวเหมือนฉลามส่วนใหญ่ ช่องเปิดเหงือก 5 ช่อง ครีบหลัง 2 ครีบอยู่ติดกัน ครีบหลังอันที่ 1มีขนาดใหญ่กว่าครีบหลังอันที่สอง ครีบหางยาวเกือบครึ่งหนึ่งของความยาวตัว ครีบหูขนาดใหญ่ ปลายกลมมน ขนาด: ความยาวไม่เกิน 70 ซม. สี: ลำตัวสีเหลือง พื้นผิว: มีจุดสีดำ ท้องสีขาว มีลายดำเป็นบั้ง อาหาร: หอยฝาเดียว หอยสองฝา กุ้ง ปู หมึกยักษ์ ปลาขนาดเล็กตามพื้นทะเล

         แหล่งที่พบในประเทศไทย พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จุดที่พบบ่อย กองหินตาชัย หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะใกล้จังหวัดภูเก็ต


ปลาสาก ( Barracuda )

by 00:13


 ปลาสาก (Barracuda) นับเป็นนักล่าลำดับบนของห่วงโซ่อาหารในท้องทะเล ด้วยลำตัวที่มีขนาดใหญ่ รูปร่างทรงกระบอกที่ยาวปราดเปรียวลู่กับสายน้ำ ทำให้ปลาสากเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วปราดเปรียว ปลาสากมีปากที่ยาวแหลมลู่ ขากรรไกรกว้างปากด้านล่างยื่นยาวกว่าปากด้านบน มีฟันแบบเขี้ยวที่แหลมคมเรียงอยู่เต็มปาก บางตัวที่มีขนาดใหญ่จะเห็นเขี้ยวที่ยาวคับปากออกมา ปลาสากจึงนับเป็นนักล่าที่น่าเกรงขามยิ่งของท้องทะเล
     
       ในยามเป็นปลาวัยอ่อนปลาสากก็จะอาศัยรวมปะปนอยู่กับฝูงปลาขนาดเล็กชนิดอื่นๆ เช่นรวมอยู่ในฝูงปลากะตักที่มีอยู่มากมายนับหมื่นนับแสน แต่หากสังเกตดูดีๆก็จะมองออกว่าเป็นลูกปลาสาก เพราะลักษณะรูปร่างหน้าตาจะเหมือนกับปลาสากตัวโตทุกอย่าง เพียงแต่ย่อขนาดมาเหลือเท่ากับปลากะตักตัวเล็กๆ เท่านั้น การรวมฝูงแอบแฝงอยู่กับฝูงปลากะตักที่มีอยู่นับหมื่นนับแสนตามกองหินหรือแนวปะการังใต้น้ำนั้น โอกาสที่จะมีชีวิตรอดเติบโตขึ้นมาเป็นปลาสากตัวใหญ่ๆนั้นมีมากกว่าการที่จะเร่ร่อนหากินอยู่อย่างโดดเดียว เพราะการปะปนอยู่กลางฝูงปลากะตักนั้น หากถูกปลาใหญ่เข้าโจมตี ปลาใหญ่ก็จะโจมตีบริเวณขอบนอกของฝูงก่อน ทำให้ปลาทั้งฝูงรู้ตัวและว่ายหลบเข้ามาหาที่ปลอดภัยตามกองหินได้ แต่แม้นตอนเด็กๆจะอยู่ด้วยกัน แต่เมื่อโตขึ้นมาจนปลาสากมีขนาดใหญ่กว่า และใหญ่พอที่จะกินปลาเล็กเหล่านั้นเป็นอาหารได้ เพื่อนๆปลาเล็กเหล่านั้นก็อาจจะตกเป็นเป็นอาหารของปลาสากได้ จนเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นจนปลอดภัยจากการล่า ปลาสากก็จะแยกออกมารวมฝูงกันในหมู่ปลาสากโดยเฉพาะ แล้วออกหากินกันเป็นฝูง กลายเป็นฝูงนักล่าที่น่าเกรงขาม จนบางครั้งขนาดของฝูงก็ใหญ่โตนับร้อยนับพันตัว เป็นเสมือนกองทัพขนาดใหญ่ที่การเคลื่อนตัวไปไหนแต่ละครั้ง ก็คล้ายดั่งการเคลื่อนตัวของพายุหมุนที่น่าเกรงขาม
       ปลาสากจะว่ายน้ำด้วยอาการสงบนิ่ง โดยใช้ลำตัวและครีบหางขนาดใหญ่โบกไปมาช้าๆ การได้ว่ายน้ำเคียงคู่ตามเก็บภาพฝูงปลาสากขนาดใหญ่เท่าขาแต่ละตัวยาวเป็นเมตร ที่ว่ายกันมานับร้อยนับพันแบบเต็มผืนน้ำไปหมด นับเป็นความรู้สึกที่น่าตื่นเต้นเป็นยิ่งนัก ยิ่งเมื่อหลุดหลงเข้าไปท่ามกลางวงล้อมของเหล่าพายุสีเงินผู้น่าเกรงขามด้วยแล้ว ยิ่งเป็นความรู้สึกที่ยากจะบรรยาย ปลาสากจะรักษาระยะห่างโดยการแหวกฝูงปล่อยให้ผมหลุดเข้าไปอยู่ท่ามกลางฝูง จากนั้นมันก็จะโอบล้อมรวมฝูงกันเป็นหนึ่งเดียวเหมือนเดิม แม้จะยังไม่เคยมีรายงานว่าปลาสากเข้าจู่โจมทำร้ายนักดำน้ำในเมืองไทย แต่ก็มักจะมีคำเตือนให้นักดำน้ำไม่ประมาทและอย่างเข้าไปใกล้ชิดกับฝูงปลาสากขนาดใหญ่มากจนเกินไป ยิ่งเป็นปลาสากใหญ่ที่แยกตัวออกมาหากินอย่างโดดเดี่ยวด้วยแล้ว ยิ่งไม่น่าไว้วางใจ เพราะปลาสากที่แยกหากินอย่างโดดเดี่ยวก็มักจะต้องมีความระแวดระวังตัวอย่างสูงกว่าการอยู่รวมฝูง เพราะการอยู่รวมฝูงจะสามารถช่วยกันระแวดระวังภัยให้แก่กันและกันได้ แต่การแยกหากินอย่างโดดเดี่ยวนั้น ก็จำเป็นต้องระวังภัยให้กับตัวเองอย่างสูงกว่าการรวมฝูงหลายเท่าตัว โดยมันอาจจะตัดสินใจใช้เขี้ยวคมที่เป็นอาวุธเข้าโจมตีผู้ที่เข้าไปใกล้ในระยะที่มันรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยก็เป็นได้
     
     

กระเบนราหู (Manta)

by 23:19




"นกยักษ์แห่งท้องทะเล" หรือกระเบนราหู (Manta) เป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกับฉลาม เป็นกระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก(ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000 ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบๆแนวปะการัง

โดยทั่วไปกระเบนราหูจะมีหลังสีดำและท้องสีขาว แต่อาจพบกระเบนราหูหลังสีฟ้าได้บ้าง ตาของกระเบนราหูอยู่บริเวณข้างหัว และต่างจากกระเบนทั่วไป ปากของกระเบนราหูอยู่ทางด้านหน้าของหัว มีช่องเหงือก 5 คู่ เหมือนกระเบนทั่วไป

ครีบหูพัฒนาเป็น ติ่งลักษณะคล้ายเขา หรือที่เรียกว่าครีบหัว (ลักษณะดังกล่าวทำให้กระเบนชนิดนี้มีอีกชื่อว่ากระเบนปิศาจ-Devil Ray) อยู่บริเวณด้านหน้าของหัวแบนๆ ครีบดังกล่าวเจริญขึ้นในช่วงตัวอ่อน เลื่อนมาอยู่รอบปาก ทำให้เป็นหนึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังมีขากรรไกร ที่มีรยางค์พิเศษอันเป็นที่รู้จักมากที่สุดชนิดหนึ่ง (อีกชนิดคือ เต่าหก-Manouria emys) เขาที่อ่อนนุ่มมีไว้สำหรับโบกพัดเอาน้ำเข้าปาก เพื่อกินแพลงก์ตอน และเพื่อจะฮุบน้ำจำนวนมากต้องว่ายอ้าปากและพัดอาหารเข้าปากอยู่เสมอ

กระเบนราหูเคยเป็นผู้หาอาหารตามพื้นท้องทะเลมาก่อน ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นผู้กรองกินตามทะเลเปิดในปัจจุบัน ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่มากกว่ากระเบนอื่นๆ

ลักษณะการกรองกินทำให้ฟันลดขนาดลงเป็นซี่เล็กๆ ส่วนใหญ่แอบอยู่ใต้ผิว คล้ายกับกระเบนทั่วไป กระเบนราหูมีหางเป็นเส้นยาว แต่หากปราศจากเงี่ยงที่ส่วนหาง และเกล็ดแหลมหุ้มลำตัวก็มีขนาดเล็กลง แทนที่ด้วยเมือกหนาหุ้มร่างกาย ส่วน spiracle มีขนาดเล็กและไม่ทำหน้าที่ น้ำทั้งหมดไหลเข้าสู่ปากแทน

เพื่อการว่ายน้ำที่ดี กระเบนราหูวิวัฒนาการรูปร่างร่างกายให้เป็นรูปเพชร และมีการพัฒนาครีบให้คล้ายปีกสำหรับโบยบินในท้องทะเล ขนาดตัวยักษ์ใหญ่และความเร็วชนิดใกล้เคียงจรวด ทำให้กระเบนราหูมีศัตรูตามธรรมชาติน้อย ศัตรูในทะเลไทยกลุ่มเดียว คือวาฬเพชรฆาตและวาฬเพชรฆาตเทียม แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน

โดยปกติกระเบนราหูกินแพลงก์ตอน ตัวอ่อนปลา และสิ่งมีชีวิตเล็กๆทั่วไปโดยการกรองน้ำที่ไหลเข้าสู่ปากโดยใช้ซี่เหงือก เรียกการกรองกินแบบนี้ว่า ram-jet

ในเชิงอนุกรมวิธาน กระเบนราหูยังมีการจัดจำแนกที่ไม่ชัดเจน โดยมีกระเบนราหูถึง 3 ชนิดที่มีการจัดนำแนกไว้ ได้แก่ Manta birostris, Manta ehrenbergii และ Manta raya โดยชนิดแรกสุดมีขนาดเล็กกว่า และสองชนิดหลังนั้นอาจเป็นเพียงประชากรที่แยกตัวกันมานานแสนนาน เดิมทีแล้ว สกุลของกระเบนราหูถูกจัดอยู่ในวงศ์ Mobulidae แต่ในปัจจุบันอาจมีการจัดไว้ในวงศ์ Myliobatidae ซึ่งมีกระเบนอินทรีย์เป็นเพื่อนร่วมวงศ์

สามารถถูกพบเห็นได้บ่อยตามแนวปะการังของมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะหมู่เกาะมัลดิล์ฟ หมู่เกาะสุรินทร์ รวมไปถึงหมู่เกาะสิมิลันของไทย โดยเฉพาะ หินแดง เกาะบอน เกาะตอรินลา และเกาะตาชัย พบได้บ่อยในทางด้านอ่าวไทยเช่นกัน เช่น หินใบ เกาะพงัน และกองหินโลซินอันห่างไกล

กระเบนราหูเป็นปลาอีกชนิดที่นักดำน้ำต้องการที่จะพบเห็นมากที่สุด ซึ่งมักจะถูกพูดถึงร่วมกับฉลามวาฬเสมอ

เต่าทะเล (Sea Turtle)

by 20:38




เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ได้กำเนิดขึ้นในโลกมากกว่า 200 ล้านปี โดยได้ปรับตัวเองให้อาศัยอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีบรรพบุรุษเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพวกแรกในวงศ์สัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยได้ทั้งบนบกและในน้ำ ปัจจุบันเต่า มีอยู่ประมาณ 210 ชนิด จากจำนวนสัตว์เลื้อยคลานทั้งสิ้น 6,000 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลมีอยู่เพียงสองชนิด คือ เต่าทะเล และงูทะเล

เต่าทะเลทุกชนิดมีการวิวัฒนาการตัวเองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในทะเล และลดการแก่งแย่งกันเอง เช่น การกินอาหารที่แตกต่างกัน การขึ้นมาวางไข่บนหาดที่มีลักษณะและช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กระดองก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปรได้ตามสิ่งแวดล้อม เช่น เต่ากระมีสีของกระดองเข้าสภาพของปะการัง กระดองสีเข้มของเต่าตะนุก็กลมกลืนกับแหล่งหญ้าทะเลที่หากิน เต่าหัวฆ้อนมีขากรรไกรที่เหมาะในการกินหอยและปู ปากที่แหลมคล้ายเหยี่ยวของกระก็ทำให้กินอาหารพวกฟองน้ำตามหินผาใด้น้ำสะดวก

เต่าทะเลปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 2 ตระกูล พวกแรกคือ ตระกูล DERMOCHELYIDAE ซึ่งมีเต่ามะเฟือง (leatherbaok : Dermochelys coriacea) เหลืออยู่เพียงชนิดเดียว อีกตระกูลที่เหลือ คือ CHELONINI คือ เต่าตนุ (Green turtle : Chelonia myfa) เต่าหลังแบน (flatbaok turtle : Chelonia depressa) เต่ากระ (Hawksbill : Eretmochelya imbricata) ในตระกูลนี้ ยังแบ่งออกเป็นตระกูลย่อยเรียกว่า CARETTINI อีก 3 ชนิด คือ เต่าหัวฆ้อน (loggerhead turtle : Caretta caretta) เต่าหญ้าหรือเต่าสังกะสี (Olive ridley : Lepidochelys olivacea) และ Kemp's ridley turtle (Lepidochelys kempi) รวมทั้งสิ้นเป็น 7 ชนิด แต่นักวิทยาศาสตร์ได้แยกเต่าตะนุออกมาเป็นอีกชนิด คือ East Pacific Green turtle (Chelonia agassisi) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ปัจจุบันในโลกนี้มีเต่าทะเลเหลืออยู่เพียง 8 ชนิดเท่านั้น ส่วนในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่อนุรักษ์พบเต่าทะเลเพียง 4 ชนิด เท่านั้น คือ เต่ามะเฟือง เต่าตะนุ เต่ากระ และเต่าหญ้า


1. เต่ามะเฟือง ( LEATHERBACK SEA TURTLE ) 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dermochelys coriacea 
มีกระดองนุ่มเหมือนหนัง ขนาด 150 - 180 เซนติเมตร ( 60 - 70 นิ้ว ) น้ำหนัก 300 - 600 กิโลกรัม ( 700 - 1,300 ปอนด์ ) บนกระดองมีสันแนว 5 เส้น ที่แตกต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่น คือ ว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไกลนับพันกิโลเมตร มีจุดสีขาวหรือสีน้ำตาลบนกระดองสีดำหรือน้ำตาลเข้ม พายหน้าไม่มีเล็บ อาหารส่วนใหญ่เป็นพวกแมงกะพรุนหรือสาหร่าย การที่มีกระดูกหน้าอกขาว ทำให้ดักแมงกะพรุนเพื่อจับเป็นอาหารได้ง่าย แหล่งที่พบมากคือบริเวณหาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และหาดไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต 

2. เต่าตะนุ ( GREEN SEA TURTLE ) 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chelonia mydas 
เมื่อโตเต็มที่วัดกระดองได้ 90 - 100 เซนติเมตร ( 35 - 43 นิ้ว ) น้ำหนักประมาณ 110 - 180 กิโลเมตร ( 250 - 400 ปอนด์ ) บริเวณพายมีเล็บแหลม กระดองเป็นเกล็ดเรียงกัน มีสีน้ำตาลโอลิพหรือสีดำ ส่วนใต้ท้องกระดองมีสีเหลืองหรือสีครีมอ่อน เต่าตะนุเป็นเต่าทะเลกระดองแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด กินพืชเป็นอาหาร โดยเฉพาะพวกสาหร่าย หรือหญ้าทะเล 

3. เต่ากระ ( HAWKSBILL SEA TURTLE ) 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Eretmochelys imbricata 
กระดองเมื่อโตเต็มที่วัดได้ 70 - 90 เซนติเมตร ( 28 - 36 นิ้ว ) มีน้ำหนักประมาณ 35 - 65 กิโลกรัม ( 18 - 140 ปอนด์ ) ลักษณะพิเศษ คือ ปากมีจงอยเหมือนปากเหยี่ยว มีเล็บที่พายคู่หน้า 4 อัน และมีเกล็ดคู่หน้าสองคู่ เกล็ดซ้อนทับกันมีสีเหลือง น้ำตาล และดำอย่างสวยงาม อาหารเป็นพวกสาหร่าย หญ้าทะเล เพรียง และปลา ที่ชอบมากคือฟองน้ำทะเลและหอยเม่น พบมากบริเวณแนวประการัง 

4. เต่าหญ้าหรือเต่าสังกะสี ( OLIVE RIDLEY SEA TURTLE ) 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lapidochelys lolyacea 
มีขนาดเล็กที่สุด อาศัยตามบริเวณชายฝั่งทะเล เมื่อโตเต็มที่กระดองมีขนาดประมาณ 60 - 70 เซนติเมตร ( 23 - 26 นิ้ว ) น้ำหนัก 35 - 40 กิโลกรัม ( 80 - 90 ปอนด์ ) กระดองสีน้ำตาลโอลิพ เรียงกันคล้ายสังกะสี ส่วนท้องสีเหลืองออกขาว อาหารกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น กุ้ง ปลา แมงกะพรุน ปู หอย สาหร่าย และหญ้าทะเล


   






ปลาสิงโต (Lion Fish)

by 19:35

ปลาสิงโต (Lion Fish) หลายๆท่านคงรู้ว่าปลาสิงโตเป็นปลามีพิษ ไม่ควรไปสัมผัสตัวของปลาสิงโต เพราะปลาสิงโตมีพิษอยู่ที่ก้านครีบ ถ้าโดนก้านครีบแทงเข้าไปจะเจ็บปวดมาก
ปลาสิงโตอยู่ในกลุ่ม Scorpaenidae แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือปลาสิงโต ( Pteroinae) และปลาหินและ ปลาแมงป่อง ( Scorpaeninae) ทั้งหมดเป็นปลามีพิษร้ายแรง พิษของพวกเขาจะอยู่ตามหนังที่ก้านครีบแข็ง ทั้งหลาย เช่น ครีบอก ครีบหลัง พิษพวกนี้มีไว้ป้องกันตัวอย่างเดียว เมื่อมีอันตรายเข้าใกล้ ปลาสิงโตจะกางครีบ เป็นการข่มขู่ แต่พวกเขาไม่ค่อยว่ายออกมาจู่โจมหรือ เอาครีบ ทิ่มแทงใคร
หากใครถูกพิษของปลาสิงโตส่วนใหญ่จะเจ็บจี๊ดก่อนแล้วปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากโดนแนะนำให้ขึ้นจากน้ำให้เร็วที่สุด จากนั้นให้ทำความ สะอาดแผล แล้วใช้ความร้อนเข้าสู้ พิษของปลาพวกนี้เป็นโปรตีน เมื่อโดนความร้อน จะสลายตัวไป คุณอาจใช้ไดร์เป่าผม น้ำอุ่น หรืออะไรก็ได้ที่ร้อนๆประคบ เอาแบบร้อนสุดเท่าที่จะทนไหว ชาวบ้านเค้าใช้อังไฟหรือย่างอ่อนๆกันเลย ปกติแล้วจะปวดประมาณ 24 ชั่วโมงแล้วจะค่อยทุเลาลง
ปลาสิงโตสามารพบได้บ่อยสุด ในอันดามันเจอแทบทุกแนว ปะการัง แต่ในอ่าวไทยมีอยู่บ้างไม่มากนัก พบได้แถวเกาะง่าม เกาะทะลุ ปลาสิงโตมักอยู่ในจุดที่มีน้ำไหลพอควร แหวกว่ายในแนวปะการัง มีสีเข้มสีจางต่างกันไป แต่เป็นชนิดเดียวกัน ไม่ค่อยกลัวคน แต่อย่าเข้าไปไกล้ๆล่ะ มันพร้อมจะกางครีบทิ่มแทงคุณอยู่เสมอ
กรณีที่ได้รับแจ้งมาว่ามนุษย์ได้รับบาดเจ็บจากปลาสิงโตก็มีอยู่เพียงกรณีเดียว คือมนุษย์ไปไล่ต้อนไล่จับเจ้าปลาสิงโต แล้วเจ้าปลาสิงโตก็ป้องกันตัวโดยการเอาหนามแหลมๆแผ่ออกทิ่มแทงเนื้อมนุษย์เข้า
ข้อมูลของปลาสิงโต
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterois volitans
ชื่อสามัญ : Lionfish
ขนาด : 20 - 40 เซนติเมตร
แหล่งที่อยู่อาศัย : ทะเลอันดามัน พบบ้างในอ่าวไทย
บริเวณที่พบ : พื้นทราย,แนวปะการัง
ความลึก : 2 - 20 เมตร

ปลากบ (Frogfish)

by 19:43

ปลากบ (Frogfish) นักพรางตัวแห่งท้องทะเลเป็นปลาที่หายากมาก
ปลากบเป็นปลาที่มีรูปร่างและพฤติกรรมที่ประหลาด ปลากบจัดเป็นสัตว์ที่นักดำน้ำให้ความสนใจมาก จุดดำน้ำบางแห่งที่มีปลากบ จะมีนักดำน้ำไปดูเป็นประจำ เช่น แนวปะการังเกาะหก หมู่เกาะสิมิลัน ทำให้ปลากบเป็นหนึ่งในทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีชีวิตของเมืองไทยเลยทีเดียวค่ะ
ลักษณะของปลากบนั้นจะดูคล้ายๆหิน มีการหาอาหารโดยใช้การล่อเหยื่อ โดยกระดูกก้านครีบด้านหน้าขึ้นลง เพื่อให้ปลาขนาดเล็กเข้ามาใกล้ ก่อนจะกินเป็นอาหาร และปลากบเป็นปลาที่หายากและมีพฤติกรรมแปลกประหลาด ฉะนั้นปลากบที่อยู่ในครอบครัว Antennaridae พบประมาณ 40 ชนิดทั่วโลก จากการศึกษาปลาชนิดนี้มีจำนวนน้อยมาก แต่ละปีมีรายงานการพบเห็นไม่เกิน 20 ครั้ง

ปลาการ์ตูนส้ม – ขาว (Nemo Fish)

by 19:41




ปลาการ์ตูนส้ม – ขาว  ( Amphiprion ocellaris )
ขนาด : ขนาดทั่วไปประมาณ 3-7 เซนติเมตร 
ลักษณะนิสัย :  ทั่วไปแล้ว ปลาส้มขาวจะอยู่รวมกันเป็นฝูง กับดอกไม้ทะเล

        เป็นที่รู้จักกันดีในชื่อว่า นีโม (NEMO) เป็นตัวแทนของปลาทะเลที่นิยมเลี้ยงกันก็ว่าได้ สามารถพบเห็นได้บ่อยๆ คุ้นตา เช่น สัญลักษณ์บนเสื้อ ตามปกหนังสือ ในหนังสือการ์ตูน หรือตุ๊กตา เป็นต้น ปลาส้มขาวที่พบจะมีสีตั้งแต่ สีเหลืองอ่อน จนถึง สีส้มเข้ม มีแถบสีขาว 3 แถบบนตัว (หัว, กลางตัว, โคนหาง) ปลาจะโตเต็มที่พร้อมผสมพันธุ์ ที่ขนาด ตัวผู้ 3 เซนติเมตร ตัวเมีย 4 เซนติเมตร (ตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้)เราสามารถที่จะเลี้ยงปลาส้มขาวได้หลายตัวใน 1 ตู้ เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินอาหารได้หลายชนิด เช่น เนื้อกุ้ง เนื้อหอย เนื้อปลา อาหารสำเร็จรูป  ซึ่งเราสามารถฝึกให้ปลากินอาหารสำเร็จรูปได้  เพื่อความสะดวก และประหยัดเวลาในการจัดหาและเตรียมการ  ปลาส้มขาวเป็นปลาที่ชอบว่ายน้ำอยู่กลางค่อนล่างของตู้  ต้องการอาณาเขตน้อย อยู่รวมกับปลาชนิดอื่นได้  แต่เนื่องจากเป็นปลาที่รักสงบ เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้จึงทำให้ปลาส้มขาวเกิดความเครียดง่าย  ซึ่งมีผลให้ปลาติดเชื้อไวรัสได้ง่าย  รักษาลำบากและจะตายในที่สุด  


Blogger 提供支持.