ความรู้เรื่องการเจ็บป่วยจากการดำน้ำ
การเจ็บป่วยจากการดำน้ำ
สาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากการดำน้ำ แบ่งเป็น
1. ปัญหาจากก๊าซ ที่เกี่ยวข้องในการดำน้ำ
1.1 ปัญหาจากก๊าซออกซิเจน
* ภาวะพร่องออกซิเจน ( Hypoxia) ทำให้หมดสติ จนถึงเสียชีวิต เกิดจากอากาศที่นักดำน้ำใช้หายใจไม่เพียงพอ
อากาศหมด หรือขาดอากาศจากอุปกรณ์การดำน้ำขัดข้อง ภาวะพร่องออกซิเจน ยังเป็นสาเหตุของการหมดสติ ในการดำน้ำแบบกลั้นหายใจ (Breath hold diving) หากนักดำทำ Hyperventilation ก่อนดำเพื่อต้องการให้ดำได้นานขึ้น จะทำให้ขาดแรงกระตุ้นอยากหายใจ จากระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำ การหมดสติมักเกิดขึ้นขณะใกล้ถึงผิวน้ำ เนื่องจากแรงดันย่อยของออกซิเจนจะลดลงอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า Shallow water blackout
* การเป็นพิษของออกซิเจน (Oxygen Toxicity ) มักพบในนักดำน้ำที่ใช้ออกซิเจนเปอร์เซ็นต์สูง ในการดำน้ำที่ใช้
ระบบการดำแบบใช้อากาศหมุนเวียนกลับ มาใช้ใหม่ ( Closed Circuit หรือ Semi Closed Circuit System )
การหายใจด้วยออกซิเจนภายใต้ความกดบรรยากาศสูง ( ดำลึกเกินกว่า ๖๐ ฟุตน้ำทะเล ) ซึ่งมีแรงดันย่อยของออกซิเจนที่สูงมากเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการ ออกซิเจนเป็นพิษ (Oxygen toxicity)
พิษต่อปอด มีอาการหายใจแสบขัดขณะหายใจเข้า
พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีอาการลานสายตาแคบลงคล้ายมองลอดอุโมงค์ เสียงดังก้องในหู คลื่นไส้ กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก กระสับกระส่าย มึนงง เกิดอาการชักคล้ายกับลมบ้าหมูและหมดสติ ถ้าเกิดอาการขณะดำน้ำ จะทำให้นักดำน้ำเสียชีวิตจากการจมน้ำได้
การป้องกันและการรักษา นักดำน้ำจะต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์ ควรได้รับการทดสอบความทนต่อออกซิเจน ในห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูง หากผู้เข้ารับการทดสอบคนใดมีอาการ O2 Toxicity ควรหลีกเลี่ยงการดำน้ำที่ต้องใช้ออกซิเจนเปอร์เซ็นต์สูงและหลีกเลี่ยงการดำน้ำที่มีความลึกมากๆ
1.2 ปัญหาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ภาวะ Hypercapnea ( ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในร่างกาย) สาเหตุจากการทำงานหนัก การระบายอากาศไม่ดี
การกลั้นหายใจ อุปกรณ์ขัดข้อง เช่น การไม่ทำงานของสารฟอกคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดอาการปวดมึนศีรษะ คลื่นไส้ สับสน หมดสติและเสียชีวิตได้ การบรรเทาภาวะนี้เมื่อเกิดขึ้นใต้น้ำ ควรหยุดกิจกรรมทั้งหมดที่ทำอยู่ เพื่อให้มี adequate ventilation หรือยกเลิกการดำน้ำ ส่วนภาวะ Hypocapnea (คาร์บอนไดออกไซด์ต่ำเกินไป ) จะเกิดตามหลังภาวะ Hyperventilation จะเกิดอาการ ชา เกร็ง ปลายมือปลายเท้า มึนงง เวียนศีรษะ ถ้าภาวะนี้ไม่ดีขึ้นเอง เมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้ยกเลิกการดำ
1.3 ปัญหาจากก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซด์
ก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซด์ อาจพบปนเปื้อนในอากาศที่นักดำน้ำใช้หายใจ หากมีการปนเปื้อนมาก จะทำให้เกิด
อาการ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ สับสน จนกระทั่งหมดสติ และเสียชีวิตได้ การแก้ไข โดยการให้นักดำหยุดดำน้ำ และให้ออกซิเจน 100 % เพื่อลดปริมาณของ carboxyhemoglobin
1.4 ปัญหาจากก๊าซไนโตรเจน
ก๊าซไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในอากาศ ที่ความลึกมากกว่า 100 ฟุตน้ำทะเล แรงดันย่อยของ
ไนโตรเจน จะสูงมากจนทำให้เกิดเป็นพิษได้ เรียกว่า เมาไนโตรเจน ( Nitrogen narcosis) จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสั่งการและการตัดสินใจ เนื่องจากอากาศที่ใช้หายใจในการดำน้ำของนักดำน้ำทั่วไปเป็นอากาศอัด มวลของอากาศมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศที่พื้นผิวโลก ภายใต้ความลึกก๊าซต่าง ๆ จะแพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกายได้มากขึ้น ในอากาศที่นักดำใช้หายใจนั้นมีไนโตรเจนประมาณ 78 % ไนโตรเจนเองมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเฉื่อยที่มีฤทธิ์กดประสาทและจะเริ่มออกฤทธิ์เมื่ออยู่ที่ระดับความลึก 80-100 ฟุตน้ำทะเล การเมาไนโตรเจนจะขึ้นอยู่กับ
ความลึก ยิ่งลึกมากยิ่งมีอาการมาก ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
ธรรมชาติของแต่ละบุคคล
การปรับตัว
อาการ รู้สึกตัวเบา ครึ้มอกครึ้มใจ หัวเราะแบบควบคุมไม่ได้ อาการคล้ายเมาเหล้าไม่สามารถทำงานที่ใช้ความละเอียดอ่อนได้ มึนงงไม่สามารถตั้งสมาธิได้ ขาดการตัดสินใจ เห็นภาพหลอน ซึมเศร้าและหมดสติได้ในที่สุด
การป้องกันและการรักษา การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด การดำน้ำจะต้องไม่ดำลึกเกินไป ไม่ควรดำน้ำคนเดียว ควรดำอย่างน้อย 2 คน และผู้ที่ดำน้ำ ควรมีความรู้ในการดำน้ำด้วย ถ้ามีอาการขณะดำน้ำให้ ลดแรงดันย่อยของไนโตรเจน โดยการดำขึ้นสู่ที่ตื้นหรือผิวน้ำ
1.5 ปัญหาจากก๊าซฮีเลียม
ก๊าซฮีเลียม เป็นก๊าซที่ใช้ผสมในอากาศที่ใช้หายใจในการดำน้ำลึก ที่เรียกว่าการดำแบบอิ่มตัว (Saturation diving)
เป็นการใช้เพื่อป้องกัน การเมาก๊าซไนโตรเจน แต่ก๊าซอีเลียม ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนของร่างกาย ต้องระวังภาวะ Hypothermia ด้วยการทำให้ก๊าซร้อน และใส่ชุดป้องกันการสูญเสียความร้อน ก๊าซอีเลียมยังทำให้เสียงที่ใช้ในการสื่อสารผิดเพี้ยน คล้ายเสียงเป็ด เรียกว่า Donald duck effect ปัญหาต่อระบบประสาทส่วนกลาง จะมีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ สูญเสียการทรงตัว ในรายที่รุนแรงจะมีการรับรู้ที่ผิดเพี้ยน และสับสนมาก
2. ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย
2.1 อันตรายจากอุณหภูมิ
นักดำน้ำมีโอกาสสูญเสียความร้อน จากการนำพา ของน้ำโดยเฉพาะ ในน้ำที่เคลื่อนไหวหากอุณหภูมิในน้ำต่ำกว่า
30 องศาเซลเซียส ภาวะอุณหภูมิต่ำ (Hypothermia) ที่เกิดขึ้น อาจรุนแรงจนกระทั่งทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น Ventricular fibrillation และภาวะอุณหภูมิสูง (Hyperthermia) มักพบในน้ำที่อุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส ทำให้เกิด Heat cramps , Heat exhaustion จนกระทั่ง Heat stroke
2.2 อันตรายจากเสียง
เสียงเดินทางในน้ำได้ดีกว่าในอากาศ นักดำน้ำสามารถได้ยินเสียง แม้จะอยู่ห่างในระยะไกล แต่ไม่สามารถ บอกทิศทาง
ของแหล่งกำเนิดเสียงได้ โซนาร์ ( Sonar ) ทางทหารบางชนิด ทำอันตรายต่อระบบ Vestibular ของหูได้
2.3 อันตรายจากแรงระเบิด
การระเบิดใต้น้ำทำอันตรายต่อนักดำน้ำโดย การบาดเจ็บจะส่งผ่านทาง Shock wave ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีช่องอากาศอยู่ เช่น ปอด ลำไส้ ไซนัส หูชั้นกลาง เกิดภาวะ Spalling ทำให้เนื้อเยื่อเกิดฉีกขาด เลือดออกจนกระทั่งกระดูกแตกและเกิดฟองก๊าซอุดตันในหลอดเลือดแดงได้
2.4 อันตรายจากกระแสไฟฟ้า
เกิดไฟฟ้าดูดจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการเชื่อม ตัด โลหะใต้น้ำ สภาพของเรือและตัวนักดำน้ำที่เปียกชื้นกระแสไฟฟ้าทั้ง
กระแสตรงและสลับ ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อร่างกาย และอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
2.5 อันตรายจากรังสี
นักประดาน้ำที่ปฏิบัติการในเรือดำน้ำหรือเรือประจำการที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์มีโอกาสสัมผัสรังสีที่อยู่ท้ายเรือ
2.6 อันตรายจากสิ่งมีชีวิตในน้ำ
1. สิ่งมีชีวิตในน้ำที่สามารถก่อให้เกิดบาดแผล เช่น จากการโดนกัด จากปลาไหลมอเรย์ ปลาฉลาม
2. สิ่งมีชีวิตในน้ำที่มีพิษ และสามารถปล่อยน้ำพิษเข้าสู่นักดำ (Envenomation) โดยการกัด ทิ่มแทง ตำหรือสัมผัส เช่นแมงกะพรุนกล่อง งูทะเล ปลากะรังหัวโขน ปลาสิงโต ปลากระเบน หอยเม่น หอยเต้าปูน ปลาหมึกสายวงฟ้า
3. สิ่งมีชีวิตในทะเลที่มีพิษ จากการรับประทาน เช่น พิษปลาปักเป้า
3.ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงความกดดันบรรยากาศ(Decompression Illness หรือDysbaric Illness)
1. โรคจากการลดความกดอากาศ (Decompression sickness, Caisson Disease,Bends) หรือที่เรียกว่า น้ำหนีบ น้ำบีบ น้ำหีบ น็อคน้ำ เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้รับก๊าซไนโตรเจนภายใต้ความกดดันจนเกิดภาวะอิ่มตัว ( Saturation ) เมื่อมีการลดความกดดันอย่างรวดเร็ว ( การดำขึ้นสู่ผิวน้ำ ) เนื้อเยื่อจึงคายก๊าซไนโตรเจนที่เกินออกเกิดเป็นฟองอากาศ ( Bubbles ) เข้าสู่ระบบต่าง ๆ ของร่างกายรวมทั้งระบบการไหลเวียนของเส้นเลือด ฟองก๊าซเกิดขึ้น เกินกว่าความสามารถของร่างกายที่จะกำจัดได้ ทำให้เนื้อเยื่อและหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บและเกิดการอักเสบจากการเบียดแทรก บีบกด จากฟองอากาศ เนื้อเยื่อเกิดการขาดเลือด และเกิดการอุดตันในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนเกิดพยาธิสภาพและอาการ
ยังพบโรคนี้จากการดำน้ำเพื่อการทำงาน เช่น การประมง ดำน้ำกู้ซากเรือ ตัดไม้ใต้น้ำ เป็นต้น หรือจากการดำน้ำเพื่อนันทนาการหรือจากเหตุอาชีพอื่น ๆ ที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความกดดันบรรยากาศ เช่น งานขุดอุโมงค์ใต้ดินหรือใต้น้ำ งานทำเหมืองใต้ดิน รวมไปถึง นักบินขับไล่ไอพ่น นักบินอวกาศ ซึ่งการขึ้นสู่ที่สูง หรืออวกาศ จัดเป็นการลดความกดอากาศ หากเกิดอย่างรวดเร็ว มีโอกาสเกิดโรคจากการลดความกดอากาศเช่นเดียวกับการดำน้ำได้
แบ่งตามความรุนแรงของโรคได้ 2 ชนิดคือ
1.1 โรคเหตุลดความกดอากาศ ประเภทที่ 1 ( Decompression sickness Type 1 หรือ Mild DCS)
Musculoskeletal symptoms มีอาการปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ พบบ่อยด้วยอาการปวดในข้อ เช่นหัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อเท้า ตะโพก ข้อเข่า นักดำจะมาด้วยเรื่องมีอาการปวดที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น ปวดลึกๆบอกตำแหน่งได้ยากบางครั้ง ปวดบริเวณกล้ามเนื้อ อาการจะดีขึ้นถ้าได้นวดหรือกดลงบริเวณนั้น ข้อสังเกตที่ใช้ในการแยกจากอาการของข้ออักเสบคือ เมื่อมีการเคลื่อนไหว จะไม่เจ็บข้อมากขึ้นซึ่งต่างจากข้ออักเสบทั่วไป
Cutaneous symptoms มีผื่น คันที่ผิวหนัง ปกติอาการผื่น คันมักจะหายเองโดยไม่ต้องรักษาด้วย hyperbaric chamber ยกเว้นการเกิดผื่นชนิด Cutis marmorata เป็นอาการแสดงของความผิดปกติของระบบประสาท ลักษณะเป็นจ้ำแดงๆ หรือเป็นปื้นม่วงๆ อาจมีอาการคันแรกเริ่ม มักพบเป็นอาการเริ่มต้นของ severe DCS จำเป็นต้องรักษาด้วย hyperbaric chamber
Lymphatic symptoms อาการบวมที่ต่อมน้ำเหลือง เป็นการบวมเฉพาะที่ เกิดจากฟองอากาศอุดกั้นทางเดินของต่อมน้ำเหลือง นักดำจะมีอาการปวดตามตำแหน่งที่อุดตัน การรักษาด้วย hyperbaric chamber เพื่อลดความเจ็บปวด จะได้ผลเป็นอย่างดี
1.2 โรคเหตุลดความกดอากาศ ประเภทที่ 2 ( Decompression sickness Type 2 หรือ Severe DCS)
เป็นประเภทที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ มักเกิดกับระบบประสาท เนื่องจากในเนื้อเยื่อของระบบประสาทมีไขมันเป็นส่วนประกอบมาก และฟองก๊าซไนโตรเจนละลายในไขมันได้ดี
Neurological symptoms อาการผิดปกติของระบบประสาทสมองและไขสันหลัง ได้แก่ อาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง
สติ- บุคลิกภาพเปลี่ยน หลงลืม การมองเห็นผิดปกติ มือเท้าสั่น ความทรงจำเสื่อม ปัสสาวะไม่ออก เป็นอัมพาต
Inner ear symptoms อาการผิดปกติของหูชั้นใน เกิดจากฟองก๊าซไปก่อตัวขึ้นที่หูชั้นใน ได้แก่ วิงเวียนศีรษะ สูญเสียการได้ยิน เสียงก้องในหู หูอื้อ ทรงตัวไม่ได้
Cardiovascular symptoms เกิดจากมีฟองก๊าซจำนวนมากขยายตัวเกิดขึ้นพร้อมกันในระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อปอดอย่างรุนแรง อาการเริ่มจาก เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ไอเป็นเลือด อาการจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด
การป้องกันและการรักษา ควรเริ่มตั้งแต่การป้องกัน ก่อนการดำน้ำร่างกายจะต้องสมบูรณ์แข็งแรง ปฏิบัติตามกฎและตารางการดำน้ำอย่างเคร่งครัด เมื่อพบผู้ป่วย DCI ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี ให้หายใจด้วย ออกซิเจน 100 % และรีบนำส่ง รพ.ที่มีห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูงโดยด่วนที่สุด
2. กลุ่มอาการปอดพองเกิน (Pulmonary Over Inflation Syndrome : POIS)
จัดเป็นการบาดเจ็บจากการเปลี่ยนแปลงความกดดัน ( Barotrauma )
เกิดจากการหายใจด้วยอากาศที่มีความกดดันสูงใต้น้ำแล้วดำขึ้นสู่ผิวน้ำ โดยระบายอากาศออกอย่างไม่เพียงพอหรือไม่ทัน (ดำขึ้นเร็วกว่าฟองอากาศ) มักพบในนักดำน้ำที่ใช้ถังอากาศดำน้ำ (SCUBA) ที่เกิดอุบัติเหตุใต้น้ำแล้วตกใจ ดำขึ้นสู่ผิวน้ำโดยการกลั้นหายใจหรือมีความผิดปกติของเนื้อเยื่อปอด เช่นมี Bleb , Bullate , Cyst ทำให้ฟองก๊าซเซาะเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อของปอด และขยายตัวมากจนทำให้ถุงลมปอดฉีกขาด ฟองก๊าซยังสามารถหลุดเข้าสู่เนื้อเยื่อและระบบไหลเวียนเลือดโดยทำให้เกิดอาการ
2.1 ลมรั่วในโพรงเยื่อหุ้มปอด ( Pneumothorax) เกิดจาก ฟองก๊าซขยายตัวอยู่ในถุงลมปอดและระบายออกทางลมหายใจไม่ทัน ทำให้ถุงลมในปอดฉีกขาด ก๊าซเข้าไปอยู่ใน pleural cavity เกิดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อทรวงอก
อาการ เจ็บแปลบที่หน้าอกทันทีทันใด บางครั้งร้าวมาที่ไหล่หลัง ไอ หายใจเร็ว ติดขัด หอบ เหนี่อย
การรักษา โดยให้ 100% Oxygen สูดดม และทำ Chest drain
2.2 ลมรั่วในแกนปอด ( Mediastinal emphysema ) เกิดจากก๊าซขยายตัวเซาะเข้าไปในเนื้อเยื่อแกนปอดหลัง ต่อกระดูกหน้าอก
อาการ เจ็บแน่นหน้าอกด้านหน้า เจ็บเวลาหายใจเข้า ไอ หรือกลืน อาจปวดร้าวไปที่หลังไหล่ คาง
ในรายเป็นไม่มากรักษาตามอาการและให้ 100% Oxygen แต่ในรายที่รุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้ การรักษาด้วย hyperbaric chamber
2.3 ลมรั่วในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (Subcutaneous emphysema ) เกิดจากก๊าซเซาะเข้าไปในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอกส่วนบนและคอ
อาการ คอบวม กลืนลำบาก เสียงเปลี่ยน มีเสียงกรอบแกรบเวลาคลำที่คอ หรือใต้ผิวหนัง
ในรายเป็นไม่มากรักษาตามอาการและให้ 100% Oxygen แต่ในรายที่รุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้ การรักษาด้วย hyperbaric chamber
2.4 ภาวะฟองก๊าซอุดตันในหลอดเลือดแดง (Arterial Gas Embolism : AGE ) ซึ่งรุนแรงที่สุด เกิดจากก๊าซถูกผลักดันหรือเซาะเข้าไปในหลอดเลือดดำของปอด ซึ่งจะกลับคืนเข้าสู่หัวใจ ฟองก๊าซถูกสูบฉีดไปส่วนต่างๆของร่างกาย ถ้าไปอุดตันที่หลอดเลือดแดงสมอง เกิดภาวะ Cerebral Arterial Gas Embolism : CAGE ทำให้มีความผิดปกติทางระบบสมอง เช่นเป็นอัมพฤกษ์คล้าย ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเฉียบพลันทั่วไป แต่ส่วนมากมักหมดสติ หากฟองก๊าซไปอุดตันที่หลอดเลือดโคโรนารี อาจทำให้เกิดอาการแสดงโรคหัวใจเฉียบพลัน
อาการ เกิดขึ้นภายใน 10 นาที ภายหลังจากขึ้นถึงผิวน้ำ โดยจะมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงมาก เช่น ไอเสมหะเป็นฟองปนเลือด เดินโซเซ สับสน ตาพร่ามัว อัมพาต เป็นลม ชัก หมดสติ หยุดหายใจ และเสียชีวิต ซึ่งบางรายอาจพบว่าหมดสติก่อนถึงผิวน้ำ
การป้องกันและการรักษา กลุ่มอาการปอดพองเกิน ข้อ 2.1-2.3 ให้หายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ และรักษาตามอาการ อาจต้องทำการรักษาด้วย ห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูง ถ้ามีการตรวจพบความผิดปกติทางระบบประสาท หรือมีภาวะฟองก๊าซอุดตันในหลอดเลือดแดงร่วมด้วย ส่วนข้อ 2.4 หรือ AGE ถือเป็นภาวะเร่งด่วน ต้องได้รับการรักษาด้วย ห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูง อย่างทันที หากผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้า อาจส่งผลถึงประสิทธิภาพของการรักษา ทำให้ผู้ป่วยหายไม่สนิท หรืออาจมีความพิการหลงเหลืออยู่
3. การบาดเจ็บจากการเปลี่ยนแปลงความกดดันบรรยากาศ ( Barotrauma )
เป็นการบาดเจ็บจากการดำน้ำที่พบบ่อยที่สุด ความกดดันรอบตัวนักดำน้ำ ทุกๆความลึก 33 ฟุตน้ำทะเล หรือ 34 ฟุตน้ำจืด ความกดดันจะเพิ่มขึ้น 1 บรรยากาศ การดำน้ำด้วยอุปกรณ์ และการดำน้ำลึกๆ อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในของร่างกายได้ เช่น ช่องหูชั้นกลาง โพรงอากาศรอบๆ จมูก ( Sinus ) การเกิดการบาดเจ็บในขณะที่ นักดำน้ำ ดำลง ช่องอากาศที่โดนบีบอัด จะมีลักษณะคล้ายสุญญากาศ ดูดเนื้อเยื่อจากผนังของช่องนั้นๆ เพื่อปรับแรงดันให้เท่ากับแรงดันภายนอก เส้นเลือดจะคั่งและขยาย จนกระทั่งแตกและเลือดออก เรียกว่า Squeeze หรือ Negative pressure Barotrauma ในทางกลับกัน การขยายของช่องอากาศ สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน เรียกว่า Reverse squeeze หรือ Overpressurization เช่น กลุ่มอาการปอดพองเกิน
* การบาดเจ็บต่อหูชั้นกลาง (Middle Ear Squeeze) เป็นอาการที่พบได้มากที่สุด หูเป็นอวัยวะที่มีโพรงอากาศ ความดันของอากาศในช่องหูชั้นกลางจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยอากาศผ่านเข้าออกทาง EustachianTube เมื่อนักดำ ดำลงไปแรงดันของบรรยากาศภายนอกร่างกายจะดันให้เยื่อแก้วหูโป่งเข้าด้านในทำให้เกิดอาการตึงและปวดหู ถ้าฝืนดำต่อไปอาจทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้ ดังนั้นนักดำจะต้องแก้ไขโดยการเพิ่มความกดดันในช่องหูชั้นกลางให้เท่ากับความดันของน้ำรอบ ๆ ตัว โดยการทำให้ท่อ Eustachian เปิด ด้วยวิธีการปิดปาก ปิดจมูก แล้วหายใจออกแรงๆ ( วิธีการปรับหูนี้ เรียกว่า Valsalva Maneuver ) อากาศจะเข้าไปในช่องหูชั้นกลางทำให้ไม่ปวด แต่ถ้านักดำไม่สามารถปรับหูได้ ความดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อ Eardrum ทำให้เกิด Hemorrhage จนถึงมีการ rupture ทำให้เกิดอาการต่างๆเช่น Vertigo, Nausea การตรวจร่างกายพบว่ามี Tympanic membrane congestion, hemotympanum มีการเคลื่อนไหวของเยื่อแก้วหูลดลงเมื่อตรวจด้วย pneumatic otoscope และมักมี conduction hearing loss
* การบาดเจ็บต่อหูชั้นใน (Inner ear Barotrauma) พบได้ไม่บ่อย มักเกิดจากการปรับหูแรงเกินไป แรงดันจะส่งผ่าน cochlear duct และทำให้มีการฉีกขาดของ Round window และOval window
อาการ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เสียการทรงตัว สูญเสียการได้ยิน หูอื้อ
* การบาดเจ็บต่อโพรงอากาศไซนัส (Sinus) โพรงอากาศรอบ ๆ โพรงจมูกอาจเกิดอันตรายได้ในกรณีที่อากาศถ่ายเทเข้าหรือออกไม่ได้ หรือไม่สะดวกในขณะที่นักดำ ดำลงถ้าช่องทางออก ท่อระบาย ของโพรงอากาศอุดตัน ที่พบบ่อยคือ frontal sinusความดันของบรรยากาศภายนอกจะสูงกว่าภายในโพรงอากาศทำให้เกิดแรงบีบกดโพรงอากาศนั้นๆ นักดำน้ำจะรู้สึกปวดมาก อาจมีเลือดออกทางโพรงจมูก
การป้องกันและการรักษา ก่อนการดำน้ำควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงไม่ควรดำน้ำในขณะที่ไม่สบายหรือเป็นหวัดหากมีอาการปวดโพรงอากาศ (Sinus) ควรหยุดดำน้ำ
* การบาดเจ็บต่อฟัน จากการมีช่อง/หลุมอากาศเล็กๆในฟัน ซึ่งหลุมอากาศนี้อาจเกิดจากฟันผุ หรือจากการอุดฟันที่ไม่แน่น การติดเชื้อของเหงือก เพิ่งถอนฟัน
การป้องกันและการรักษา รักษาฟันผุ หลังทำฟัน อุดฟัน พักอย่างน้อย 1 วันก่อนดำน้ำ
* การบาดเจ็บต่อปอด ขณะลอยตัวขึ้นทำให้เกิด Arterial Gas Embolism เกิดจากภาวะปอดฉีกขาดขณะลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ ทำให้อากาศภายในปอดเข้าไปอุดตันในระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท เกิดอาการ หมดสติ อาการทางสมอง อัมพาต และอาจเสียชีวิตได้
การป้องกันและการรักษา ควรเริ่มตั้งแต่การป้องกัน ก่อนการดำน้ำร่างกายจะต้องสมบูรณ์แข็งแรง ปฏิบัติตามกฎและตารางการดำน้ำอย่างเคร่งคัด เมื่อพบผู้ป่วย DCI ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วให้หายใจด้วย ออกซิเจน 100 % และรีบนำส่ง รพ.ที่มีห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูงโดยด่วนที่สุด
เครดิตข้อมูลจาก : รพ.วชิระภูเก็ต (vachiraphuket.go.th)
สาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วยจากการดำน้ำ แบ่งเป็น
1. ปัญหาจากก๊าซ ที่เกี่ยวข้องในการดำน้ำ
1.1 ปัญหาจากก๊าซออกซิเจน
* ภาวะพร่องออกซิเจน ( Hypoxia) ทำให้หมดสติ จนถึงเสียชีวิต เกิดจากอากาศที่นักดำน้ำใช้หายใจไม่เพียงพอ
อากาศหมด หรือขาดอากาศจากอุปกรณ์การดำน้ำขัดข้อง ภาวะพร่องออกซิเจน ยังเป็นสาเหตุของการหมดสติ ในการดำน้ำแบบกลั้นหายใจ (Breath hold diving) หากนักดำทำ Hyperventilation ก่อนดำเพื่อต้องการให้ดำได้นานขึ้น จะทำให้ขาดแรงกระตุ้นอยากหายใจ จากระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำ การหมดสติมักเกิดขึ้นขณะใกล้ถึงผิวน้ำ เนื่องจากแรงดันย่อยของออกซิเจนจะลดลงอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า Shallow water blackout
* การเป็นพิษของออกซิเจน (Oxygen Toxicity ) มักพบในนักดำน้ำที่ใช้ออกซิเจนเปอร์เซ็นต์สูง ในการดำน้ำที่ใช้
ระบบการดำแบบใช้อากาศหมุนเวียนกลับ มาใช้ใหม่ ( Closed Circuit หรือ Semi Closed Circuit System )
การหายใจด้วยออกซิเจนภายใต้ความกดบรรยากาศสูง ( ดำลึกเกินกว่า ๖๐ ฟุตน้ำทะเล ) ซึ่งมีแรงดันย่อยของออกซิเจนที่สูงมากเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการ ออกซิเจนเป็นพิษ (Oxygen toxicity)
พิษต่อปอด มีอาการหายใจแสบขัดขณะหายใจเข้า
พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีอาการลานสายตาแคบลงคล้ายมองลอดอุโมงค์ เสียงดังก้องในหู คลื่นไส้ กล้ามเนื้อใบหน้ากระตุก กระสับกระส่าย มึนงง เกิดอาการชักคล้ายกับลมบ้าหมูและหมดสติ ถ้าเกิดอาการขณะดำน้ำ จะทำให้นักดำน้ำเสียชีวิตจากการจมน้ำได้
การป้องกันและการรักษา นักดำน้ำจะต้องมีสุขภาพที่สมบูรณ์ ควรได้รับการทดสอบความทนต่อออกซิเจน ในห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูง หากผู้เข้ารับการทดสอบคนใดมีอาการ O2 Toxicity ควรหลีกเลี่ยงการดำน้ำที่ต้องใช้ออกซิเจนเปอร์เซ็นต์สูงและหลีกเลี่ยงการดำน้ำที่มีความลึกมากๆ
1.2 ปัญหาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ภาวะ Hypercapnea ( ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในร่างกาย) สาเหตุจากการทำงานหนัก การระบายอากาศไม่ดี
การกลั้นหายใจ อุปกรณ์ขัดข้อง เช่น การไม่ทำงานของสารฟอกคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดอาการปวดมึนศีรษะ คลื่นไส้ สับสน หมดสติและเสียชีวิตได้ การบรรเทาภาวะนี้เมื่อเกิดขึ้นใต้น้ำ ควรหยุดกิจกรรมทั้งหมดที่ทำอยู่ เพื่อให้มี adequate ventilation หรือยกเลิกการดำน้ำ ส่วนภาวะ Hypocapnea (คาร์บอนไดออกไซด์ต่ำเกินไป ) จะเกิดตามหลังภาวะ Hyperventilation จะเกิดอาการ ชา เกร็ง ปลายมือปลายเท้า มึนงง เวียนศีรษะ ถ้าภาวะนี้ไม่ดีขึ้นเอง เมื่ออยู่ใต้น้ำ ให้ยกเลิกการดำ
1.3 ปัญหาจากก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซด์
ก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซด์ อาจพบปนเปื้อนในอากาศที่นักดำน้ำใช้หายใจ หากมีการปนเปื้อนมาก จะทำให้เกิด
อาการ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ สับสน จนกระทั่งหมดสติ และเสียชีวิตได้ การแก้ไข โดยการให้นักดำหยุดดำน้ำ และให้ออกซิเจน 100 % เพื่อลดปริมาณของ carboxyhemoglobin
1.4 ปัญหาจากก๊าซไนโตรเจน
ก๊าซไนโตรเจน เป็นส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในอากาศ ที่ความลึกมากกว่า 100 ฟุตน้ำทะเล แรงดันย่อยของ
ไนโตรเจน จะสูงมากจนทำให้เกิดเป็นพิษได้ เรียกว่า เมาไนโตรเจน ( Nitrogen narcosis) จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสั่งการและการตัดสินใจ เนื่องจากอากาศที่ใช้หายใจในการดำน้ำของนักดำน้ำทั่วไปเป็นอากาศอัด มวลของอากาศมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศที่พื้นผิวโลก ภายใต้ความลึกก๊าซต่าง ๆ จะแพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อของร่างกายได้มากขึ้น ในอากาศที่นักดำใช้หายใจนั้นมีไนโตรเจนประมาณ 78 % ไนโตรเจนเองมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเฉื่อยที่มีฤทธิ์กดประสาทและจะเริ่มออกฤทธิ์เมื่ออยู่ที่ระดับความลึก 80-100 ฟุตน้ำทะเล การเมาไนโตรเจนจะขึ้นอยู่กับ
ความลึก ยิ่งลึกมากยิ่งมีอาการมาก ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
ธรรมชาติของแต่ละบุคคล
การปรับตัว
อาการ รู้สึกตัวเบา ครึ้มอกครึ้มใจ หัวเราะแบบควบคุมไม่ได้ อาการคล้ายเมาเหล้าไม่สามารถทำงานที่ใช้ความละเอียดอ่อนได้ มึนงงไม่สามารถตั้งสมาธิได้ ขาดการตัดสินใจ เห็นภาพหลอน ซึมเศร้าและหมดสติได้ในที่สุด
การป้องกันและการรักษา การป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุด การดำน้ำจะต้องไม่ดำลึกเกินไป ไม่ควรดำน้ำคนเดียว ควรดำอย่างน้อย 2 คน และผู้ที่ดำน้ำ ควรมีความรู้ในการดำน้ำด้วย ถ้ามีอาการขณะดำน้ำให้ ลดแรงดันย่อยของไนโตรเจน โดยการดำขึ้นสู่ที่ตื้นหรือผิวน้ำ
1.5 ปัญหาจากก๊าซฮีเลียม
ก๊าซฮีเลียม เป็นก๊าซที่ใช้ผสมในอากาศที่ใช้หายใจในการดำน้ำลึก ที่เรียกว่าการดำแบบอิ่มตัว (Saturation diving)
เป็นการใช้เพื่อป้องกัน การเมาก๊าซไนโตรเจน แต่ก๊าซอีเลียม ทำให้เกิดการสูญเสียความร้อนของร่างกาย ต้องระวังภาวะ Hypothermia ด้วยการทำให้ก๊าซร้อน และใส่ชุดป้องกันการสูญเสียความร้อน ก๊าซอีเลียมยังทำให้เสียงที่ใช้ในการสื่อสารผิดเพี้ยน คล้ายเสียงเป็ด เรียกว่า Donald duck effect ปัญหาต่อระบบประสาทส่วนกลาง จะมีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ สูญเสียการทรงตัว ในรายที่รุนแรงจะมีการรับรู้ที่ผิดเพี้ยน และสับสนมาก
2. ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย
2.1 อันตรายจากอุณหภูมิ
นักดำน้ำมีโอกาสสูญเสียความร้อน จากการนำพา ของน้ำโดยเฉพาะ ในน้ำที่เคลื่อนไหวหากอุณหภูมิในน้ำต่ำกว่า
30 องศาเซลเซียส ภาวะอุณหภูมิต่ำ (Hypothermia) ที่เกิดขึ้น อาจรุนแรงจนกระทั่งทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น Ventricular fibrillation และภาวะอุณหภูมิสูง (Hyperthermia) มักพบในน้ำที่อุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส ทำให้เกิด Heat cramps , Heat exhaustion จนกระทั่ง Heat stroke
2.2 อันตรายจากเสียง
เสียงเดินทางในน้ำได้ดีกว่าในอากาศ นักดำน้ำสามารถได้ยินเสียง แม้จะอยู่ห่างในระยะไกล แต่ไม่สามารถ บอกทิศทาง
ของแหล่งกำเนิดเสียงได้ โซนาร์ ( Sonar ) ทางทหารบางชนิด ทำอันตรายต่อระบบ Vestibular ของหูได้
2.3 อันตรายจากแรงระเบิด
การระเบิดใต้น้ำทำอันตรายต่อนักดำน้ำโดย การบาดเจ็บจะส่งผ่านทาง Shock wave ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีช่องอากาศอยู่ เช่น ปอด ลำไส้ ไซนัส หูชั้นกลาง เกิดภาวะ Spalling ทำให้เนื้อเยื่อเกิดฉีกขาด เลือดออกจนกระทั่งกระดูกแตกและเกิดฟองก๊าซอุดตันในหลอดเลือดแดงได้
2.4 อันตรายจากกระแสไฟฟ้า
เกิดไฟฟ้าดูดจากการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในการเชื่อม ตัด โลหะใต้น้ำ สภาพของเรือและตัวนักดำน้ำที่เปียกชื้นกระแสไฟฟ้าทั้ง
กระแสตรงและสลับ ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อร่างกาย และอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
2.5 อันตรายจากรังสี
นักประดาน้ำที่ปฏิบัติการในเรือดำน้ำหรือเรือประจำการที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์มีโอกาสสัมผัสรังสีที่อยู่ท้ายเรือ
2.6 อันตรายจากสิ่งมีชีวิตในน้ำ
1. สิ่งมีชีวิตในน้ำที่สามารถก่อให้เกิดบาดแผล เช่น จากการโดนกัด จากปลาไหลมอเรย์ ปลาฉลาม
2. สิ่งมีชีวิตในน้ำที่มีพิษ และสามารถปล่อยน้ำพิษเข้าสู่นักดำ (Envenomation) โดยการกัด ทิ่มแทง ตำหรือสัมผัส เช่นแมงกะพรุนกล่อง งูทะเล ปลากะรังหัวโขน ปลาสิงโต ปลากระเบน หอยเม่น หอยเต้าปูน ปลาหมึกสายวงฟ้า
3. สิ่งมีชีวิตในทะเลที่มีพิษ จากการรับประทาน เช่น พิษปลาปักเป้า
3.ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงความกดดันบรรยากาศ(Decompression Illness หรือDysbaric Illness)
1. โรคจากการลดความกดอากาศ (Decompression sickness, Caisson Disease,Bends) หรือที่เรียกว่า น้ำหนีบ น้ำบีบ น้ำหีบ น็อคน้ำ เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้รับก๊าซไนโตรเจนภายใต้ความกดดันจนเกิดภาวะอิ่มตัว ( Saturation ) เมื่อมีการลดความกดดันอย่างรวดเร็ว ( การดำขึ้นสู่ผิวน้ำ ) เนื้อเยื่อจึงคายก๊าซไนโตรเจนที่เกินออกเกิดเป็นฟองอากาศ ( Bubbles ) เข้าสู่ระบบต่าง ๆ ของร่างกายรวมทั้งระบบการไหลเวียนของเส้นเลือด ฟองก๊าซเกิดขึ้น เกินกว่าความสามารถของร่างกายที่จะกำจัดได้ ทำให้เนื้อเยื่อและหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บและเกิดการอักเสบจากการเบียดแทรก บีบกด จากฟองอากาศ เนื้อเยื่อเกิดการขาดเลือด และเกิดการอุดตันในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จนเกิดพยาธิสภาพและอาการ
ยังพบโรคนี้จากการดำน้ำเพื่อการทำงาน เช่น การประมง ดำน้ำกู้ซากเรือ ตัดไม้ใต้น้ำ เป็นต้น หรือจากการดำน้ำเพื่อนันทนาการหรือจากเหตุอาชีพอื่น ๆ ที่ต้องปฏิบัติงานภายใต้ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความกดดันบรรยากาศ เช่น งานขุดอุโมงค์ใต้ดินหรือใต้น้ำ งานทำเหมืองใต้ดิน รวมไปถึง นักบินขับไล่ไอพ่น นักบินอวกาศ ซึ่งการขึ้นสู่ที่สูง หรืออวกาศ จัดเป็นการลดความกดอากาศ หากเกิดอย่างรวดเร็ว มีโอกาสเกิดโรคจากการลดความกดอากาศเช่นเดียวกับการดำน้ำได้
แบ่งตามความรุนแรงของโรคได้ 2 ชนิดคือ
1.1 โรคเหตุลดความกดอากาศ ประเภทที่ 1 ( Decompression sickness Type 1 หรือ Mild DCS)
Musculoskeletal symptoms มีอาการปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ พบบ่อยด้วยอาการปวดในข้อ เช่นหัวไหล่ ข้อศอก ข้อมือ ข้อเท้า ตะโพก ข้อเข่า นักดำจะมาด้วยเรื่องมีอาการปวดที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น ปวดลึกๆบอกตำแหน่งได้ยากบางครั้ง ปวดบริเวณกล้ามเนื้อ อาการจะดีขึ้นถ้าได้นวดหรือกดลงบริเวณนั้น ข้อสังเกตที่ใช้ในการแยกจากอาการของข้ออักเสบคือ เมื่อมีการเคลื่อนไหว จะไม่เจ็บข้อมากขึ้นซึ่งต่างจากข้ออักเสบทั่วไป
Cutaneous symptoms มีผื่น คันที่ผิวหนัง ปกติอาการผื่น คันมักจะหายเองโดยไม่ต้องรักษาด้วย hyperbaric chamber ยกเว้นการเกิดผื่นชนิด Cutis marmorata เป็นอาการแสดงของความผิดปกติของระบบประสาท ลักษณะเป็นจ้ำแดงๆ หรือเป็นปื้นม่วงๆ อาจมีอาการคันแรกเริ่ม มักพบเป็นอาการเริ่มต้นของ severe DCS จำเป็นต้องรักษาด้วย hyperbaric chamber
Lymphatic symptoms อาการบวมที่ต่อมน้ำเหลือง เป็นการบวมเฉพาะที่ เกิดจากฟองอากาศอุดกั้นทางเดินของต่อมน้ำเหลือง นักดำจะมีอาการปวดตามตำแหน่งที่อุดตัน การรักษาด้วย hyperbaric chamber เพื่อลดความเจ็บปวด จะได้ผลเป็นอย่างดี
1.2 โรคเหตุลดความกดอากาศ ประเภทที่ 2 ( Decompression sickness Type 2 หรือ Severe DCS)
เป็นประเภทที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ มักเกิดกับระบบประสาท เนื่องจากในเนื้อเยื่อของระบบประสาทมีไขมันเป็นส่วนประกอบมาก และฟองก๊าซไนโตรเจนละลายในไขมันได้ดี
Neurological symptoms อาการผิดปกติของระบบประสาทสมองและไขสันหลัง ได้แก่ อาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง
สติ- บุคลิกภาพเปลี่ยน หลงลืม การมองเห็นผิดปกติ มือเท้าสั่น ความทรงจำเสื่อม ปัสสาวะไม่ออก เป็นอัมพาต
Inner ear symptoms อาการผิดปกติของหูชั้นใน เกิดจากฟองก๊าซไปก่อตัวขึ้นที่หูชั้นใน ได้แก่ วิงเวียนศีรษะ สูญเสียการได้ยิน เสียงก้องในหู หูอื้อ ทรงตัวไม่ได้
Cardiovascular symptoms เกิดจากมีฟองก๊าซจำนวนมากขยายตัวเกิดขึ้นพร้อมกันในระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อปอดอย่างรุนแรง อาการเริ่มจาก เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย ไอเป็นเลือด อาการจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว หมดสติและเสียชีวิตในที่สุด
การป้องกันและการรักษา ควรเริ่มตั้งแต่การป้องกัน ก่อนการดำน้ำร่างกายจะต้องสมบูรณ์แข็งแรง ปฏิบัติตามกฎและตารางการดำน้ำอย่างเคร่งครัด เมื่อพบผู้ป่วย DCI ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี ให้หายใจด้วย ออกซิเจน 100 % และรีบนำส่ง รพ.ที่มีห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูงโดยด่วนที่สุด
2. กลุ่มอาการปอดพองเกิน (Pulmonary Over Inflation Syndrome : POIS)
จัดเป็นการบาดเจ็บจากการเปลี่ยนแปลงความกดดัน ( Barotrauma )
เกิดจากการหายใจด้วยอากาศที่มีความกดดันสูงใต้น้ำแล้วดำขึ้นสู่ผิวน้ำ โดยระบายอากาศออกอย่างไม่เพียงพอหรือไม่ทัน (ดำขึ้นเร็วกว่าฟองอากาศ) มักพบในนักดำน้ำที่ใช้ถังอากาศดำน้ำ (SCUBA) ที่เกิดอุบัติเหตุใต้น้ำแล้วตกใจ ดำขึ้นสู่ผิวน้ำโดยการกลั้นหายใจหรือมีความผิดปกติของเนื้อเยื่อปอด เช่นมี Bleb , Bullate , Cyst ทำให้ฟองก๊าซเซาะเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อของปอด และขยายตัวมากจนทำให้ถุงลมปอดฉีกขาด ฟองก๊าซยังสามารถหลุดเข้าสู่เนื้อเยื่อและระบบไหลเวียนเลือดโดยทำให้เกิดอาการ
2.1 ลมรั่วในโพรงเยื่อหุ้มปอด ( Pneumothorax) เกิดจาก ฟองก๊าซขยายตัวอยู่ในถุงลมปอดและระบายออกทางลมหายใจไม่ทัน ทำให้ถุงลมในปอดฉีกขาด ก๊าซเข้าไปอยู่ใน pleural cavity เกิดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อทรวงอก
อาการ เจ็บแปลบที่หน้าอกทันทีทันใด บางครั้งร้าวมาที่ไหล่หลัง ไอ หายใจเร็ว ติดขัด หอบ เหนี่อย
การรักษา โดยให้ 100% Oxygen สูดดม และทำ Chest drain
2.2 ลมรั่วในแกนปอด ( Mediastinal emphysema ) เกิดจากก๊าซขยายตัวเซาะเข้าไปในเนื้อเยื่อแกนปอดหลัง ต่อกระดูกหน้าอก
อาการ เจ็บแน่นหน้าอกด้านหน้า เจ็บเวลาหายใจเข้า ไอ หรือกลืน อาจปวดร้าวไปที่หลังไหล่ คาง
ในรายเป็นไม่มากรักษาตามอาการและให้ 100% Oxygen แต่ในรายที่รุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้ การรักษาด้วย hyperbaric chamber
2.3 ลมรั่วในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง (Subcutaneous emphysema ) เกิดจากก๊าซเซาะเข้าไปในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอกส่วนบนและคอ
อาการ คอบวม กลืนลำบาก เสียงเปลี่ยน มีเสียงกรอบแกรบเวลาคลำที่คอ หรือใต้ผิวหนัง
ในรายเป็นไม่มากรักษาตามอาการและให้ 100% Oxygen แต่ในรายที่รุนแรงอาจจำเป็นต้องใช้ การรักษาด้วย hyperbaric chamber
2.4 ภาวะฟองก๊าซอุดตันในหลอดเลือดแดง (Arterial Gas Embolism : AGE ) ซึ่งรุนแรงที่สุด เกิดจากก๊าซถูกผลักดันหรือเซาะเข้าไปในหลอดเลือดดำของปอด ซึ่งจะกลับคืนเข้าสู่หัวใจ ฟองก๊าซถูกสูบฉีดไปส่วนต่างๆของร่างกาย ถ้าไปอุดตันที่หลอดเลือดแดงสมอง เกิดภาวะ Cerebral Arterial Gas Embolism : CAGE ทำให้มีความผิดปกติทางระบบสมอง เช่นเป็นอัมพฤกษ์คล้าย ผู้ป่วยหลอดเลือดสมองเฉียบพลันทั่วไป แต่ส่วนมากมักหมดสติ หากฟองก๊าซไปอุดตันที่หลอดเลือดโคโรนารี อาจทำให้เกิดอาการแสดงโรคหัวใจเฉียบพลัน
อาการ เกิดขึ้นภายใน 10 นาที ภายหลังจากขึ้นถึงผิวน้ำ โดยจะมีอาการตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรงมาก เช่น ไอเสมหะเป็นฟองปนเลือด เดินโซเซ สับสน ตาพร่ามัว อัมพาต เป็นลม ชัก หมดสติ หยุดหายใจ และเสียชีวิต ซึ่งบางรายอาจพบว่าหมดสติก่อนถึงผิวน้ำ
การป้องกันและการรักษา กลุ่มอาการปอดพองเกิน ข้อ 2.1-2.3 ให้หายใจด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ และรักษาตามอาการ อาจต้องทำการรักษาด้วย ห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูง ถ้ามีการตรวจพบความผิดปกติทางระบบประสาท หรือมีภาวะฟองก๊าซอุดตันในหลอดเลือดแดงร่วมด้วย ส่วนข้อ 2.4 หรือ AGE ถือเป็นภาวะเร่งด่วน ต้องได้รับการรักษาด้วย ห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูง อย่างทันที หากผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้า อาจส่งผลถึงประสิทธิภาพของการรักษา ทำให้ผู้ป่วยหายไม่สนิท หรืออาจมีความพิการหลงเหลืออยู่
3. การบาดเจ็บจากการเปลี่ยนแปลงความกดดันบรรยากาศ ( Barotrauma )
เป็นการบาดเจ็บจากการดำน้ำที่พบบ่อยที่สุด ความกดดันรอบตัวนักดำน้ำ ทุกๆความลึก 33 ฟุตน้ำทะเล หรือ 34 ฟุตน้ำจืด ความกดดันจะเพิ่มขึ้น 1 บรรยากาศ การดำน้ำด้วยอุปกรณ์ และการดำน้ำลึกๆ อาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในของร่างกายได้ เช่น ช่องหูชั้นกลาง โพรงอากาศรอบๆ จมูก ( Sinus ) การเกิดการบาดเจ็บในขณะที่ นักดำน้ำ ดำลง ช่องอากาศที่โดนบีบอัด จะมีลักษณะคล้ายสุญญากาศ ดูดเนื้อเยื่อจากผนังของช่องนั้นๆ เพื่อปรับแรงดันให้เท่ากับแรงดันภายนอก เส้นเลือดจะคั่งและขยาย จนกระทั่งแตกและเลือดออก เรียกว่า Squeeze หรือ Negative pressure Barotrauma ในทางกลับกัน การขยายของช่องอากาศ สามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน เรียกว่า Reverse squeeze หรือ Overpressurization เช่น กลุ่มอาการปอดพองเกิน
* การบาดเจ็บต่อหูชั้นกลาง (Middle Ear Squeeze) เป็นอาการที่พบได้มากที่สุด หูเป็นอวัยวะที่มีโพรงอากาศ ความดันของอากาศในช่องหูชั้นกลางจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยอากาศผ่านเข้าออกทาง EustachianTube เมื่อนักดำ ดำลงไปแรงดันของบรรยากาศภายนอกร่างกายจะดันให้เยื่อแก้วหูโป่งเข้าด้านในทำให้เกิดอาการตึงและปวดหู ถ้าฝืนดำต่อไปอาจทำให้เยื่อแก้วหูทะลุได้ ดังนั้นนักดำจะต้องแก้ไขโดยการเพิ่มความกดดันในช่องหูชั้นกลางให้เท่ากับความดันของน้ำรอบ ๆ ตัว โดยการทำให้ท่อ Eustachian เปิด ด้วยวิธีการปิดปาก ปิดจมูก แล้วหายใจออกแรงๆ ( วิธีการปรับหูนี้ เรียกว่า Valsalva Maneuver ) อากาศจะเข้าไปในช่องหูชั้นกลางทำให้ไม่ปวด แต่ถ้านักดำไม่สามารถปรับหูได้ ความดันอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อ Eardrum ทำให้เกิด Hemorrhage จนถึงมีการ rupture ทำให้เกิดอาการต่างๆเช่น Vertigo, Nausea การตรวจร่างกายพบว่ามี Tympanic membrane congestion, hemotympanum มีการเคลื่อนไหวของเยื่อแก้วหูลดลงเมื่อตรวจด้วย pneumatic otoscope และมักมี conduction hearing loss
* การบาดเจ็บต่อหูชั้นใน (Inner ear Barotrauma) พบได้ไม่บ่อย มักเกิดจากการปรับหูแรงเกินไป แรงดันจะส่งผ่าน cochlear duct และทำให้มีการฉีกขาดของ Round window และOval window
อาการ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง เสียการทรงตัว สูญเสียการได้ยิน หูอื้อ
* การบาดเจ็บต่อโพรงอากาศไซนัส (Sinus) โพรงอากาศรอบ ๆ โพรงจมูกอาจเกิดอันตรายได้ในกรณีที่อากาศถ่ายเทเข้าหรือออกไม่ได้ หรือไม่สะดวกในขณะที่นักดำ ดำลงถ้าช่องทางออก ท่อระบาย ของโพรงอากาศอุดตัน ที่พบบ่อยคือ frontal sinusความดันของบรรยากาศภายนอกจะสูงกว่าภายในโพรงอากาศทำให้เกิดแรงบีบกดโพรงอากาศนั้นๆ นักดำน้ำจะรู้สึกปวดมาก อาจมีเลือดออกทางโพรงจมูก
การป้องกันและการรักษา ก่อนการดำน้ำควรรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงไม่ควรดำน้ำในขณะที่ไม่สบายหรือเป็นหวัดหากมีอาการปวดโพรงอากาศ (Sinus) ควรหยุดดำน้ำ
* การบาดเจ็บต่อฟัน จากการมีช่อง/หลุมอากาศเล็กๆในฟัน ซึ่งหลุมอากาศนี้อาจเกิดจากฟันผุ หรือจากการอุดฟันที่ไม่แน่น การติดเชื้อของเหงือก เพิ่งถอนฟัน
การป้องกันและการรักษา รักษาฟันผุ หลังทำฟัน อุดฟัน พักอย่างน้อย 1 วันก่อนดำน้ำ
* การบาดเจ็บต่อปอด ขณะลอยตัวขึ้นทำให้เกิด Arterial Gas Embolism เกิดจากภาวะปอดฉีกขาดขณะลอยตัวขึ้นสู่ผิวน้ำ ทำให้อากาศภายในปอดเข้าไปอุดตันในระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท เกิดอาการ หมดสติ อาการทางสมอง อัมพาต และอาจเสียชีวิตได้
การป้องกันและการรักษา ควรเริ่มตั้งแต่การป้องกัน ก่อนการดำน้ำร่างกายจะต้องสมบูรณ์แข็งแรง ปฏิบัติตามกฎและตารางการดำน้ำอย่างเคร่งคัด เมื่อพบผู้ป่วย DCI ควรให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วให้หายใจด้วย ออกซิเจน 100 % และรีบนำส่ง รพ.ที่มีห้องปรับบรรยากาศความกดดันสูงโดยด่วนที่สุด
เครดิตข้อมูลจาก : รพ.วชิระภูเก็ต (vachiraphuket.go.th)
Post a Comment