เต่าทะเล (Sea Turtle)





เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ได้กำเนิดขึ้นในโลกมากกว่า 200 ล้านปี โดยได้ปรับตัวเองให้อาศัยอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีบรรพบุรุษเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพวกแรกในวงศ์สัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยได้ทั้งบนบกและในน้ำ ปัจจุบันเต่า มีอยู่ประมาณ 210 ชนิด จากจำนวนสัตว์เลื้อยคลานทั้งสิ้น 6,000 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลมีอยู่เพียงสองชนิด คือ เต่าทะเล และงูทะเล

เต่าทะเลทุกชนิดมีการวิวัฒนาการตัวเองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในทะเล และลดการแก่งแย่งกันเอง เช่น การกินอาหารที่แตกต่างกัน การขึ้นมาวางไข่บนหาดที่มีลักษณะและช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กระดองก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปรได้ตามสิ่งแวดล้อม เช่น เต่ากระมีสีของกระดองเข้าสภาพของปะการัง กระดองสีเข้มของเต่าตะนุก็กลมกลืนกับแหล่งหญ้าทะเลที่หากิน เต่าหัวฆ้อนมีขากรรไกรที่เหมาะในการกินหอยและปู ปากที่แหลมคล้ายเหยี่ยวของกระก็ทำให้กินอาหารพวกฟองน้ำตามหินผาใด้น้ำสะดวก

เต่าทะเลปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 2 ตระกูล พวกแรกคือ ตระกูล DERMOCHELYIDAE ซึ่งมีเต่ามะเฟือง (leatherbaok : Dermochelys coriacea) เหลืออยู่เพียงชนิดเดียว อีกตระกูลที่เหลือ คือ CHELONINI คือ เต่าตนุ (Green turtle : Chelonia myfa) เต่าหลังแบน (flatbaok turtle : Chelonia depressa) เต่ากระ (Hawksbill : Eretmochelya imbricata) ในตระกูลนี้ ยังแบ่งออกเป็นตระกูลย่อยเรียกว่า CARETTINI อีก 3 ชนิด คือ เต่าหัวฆ้อน (loggerhead turtle : Caretta caretta) เต่าหญ้าหรือเต่าสังกะสี (Olive ridley : Lepidochelys olivacea) และ Kemp's ridley turtle (Lepidochelys kempi) รวมทั้งสิ้นเป็น 7 ชนิด แต่นักวิทยาศาสตร์ได้แยกเต่าตะนุออกมาเป็นอีกชนิด คือ East Pacific Green turtle (Chelonia agassisi) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ปัจจุบันในโลกนี้มีเต่าทะเลเหลืออยู่เพียง 8 ชนิดเท่านั้น ส่วนในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่อนุรักษ์พบเต่าทะเลเพียง 4 ชนิด เท่านั้น คือ เต่ามะเฟือง เต่าตะนุ เต่ากระ และเต่าหญ้า


1. เต่ามะเฟือง ( LEATHERBACK SEA TURTLE ) 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dermochelys coriacea 
มีกระดองนุ่มเหมือนหนัง ขนาด 150 - 180 เซนติเมตร ( 60 - 70 นิ้ว ) น้ำหนัก 300 - 600 กิโลกรัม ( 700 - 1,300 ปอนด์ ) บนกระดองมีสันแนว 5 เส้น ที่แตกต่างจากเต่าทะเลชนิดอื่น คือ ว่ายน้ำได้เป็นระยะทางไกลนับพันกิโลเมตร มีจุดสีขาวหรือสีน้ำตาลบนกระดองสีดำหรือน้ำตาลเข้ม พายหน้าไม่มีเล็บ อาหารส่วนใหญ่เป็นพวกแมงกะพรุนหรือสาหร่าย การที่มีกระดูกหน้าอกขาว ทำให้ดักแมงกะพรุนเพื่อจับเป็นอาหารได้ง่าย แหล่งที่พบมากคือบริเวณหาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และหาดไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต 

2. เต่าตะนุ ( GREEN SEA TURTLE ) 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chelonia mydas 
เมื่อโตเต็มที่วัดกระดองได้ 90 - 100 เซนติเมตร ( 35 - 43 นิ้ว ) น้ำหนักประมาณ 110 - 180 กิโลเมตร ( 250 - 400 ปอนด์ ) บริเวณพายมีเล็บแหลม กระดองเป็นเกล็ดเรียงกัน มีสีน้ำตาลโอลิพหรือสีดำ ส่วนใต้ท้องกระดองมีสีเหลืองหรือสีครีมอ่อน เต่าตะนุเป็นเต่าทะเลกระดองแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุด กินพืชเป็นอาหาร โดยเฉพาะพวกสาหร่าย หรือหญ้าทะเล 

3. เต่ากระ ( HAWKSBILL SEA TURTLE ) 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Eretmochelys imbricata 
กระดองเมื่อโตเต็มที่วัดได้ 70 - 90 เซนติเมตร ( 28 - 36 นิ้ว ) มีน้ำหนักประมาณ 35 - 65 กิโลกรัม ( 18 - 140 ปอนด์ ) ลักษณะพิเศษ คือ ปากมีจงอยเหมือนปากเหยี่ยว มีเล็บที่พายคู่หน้า 4 อัน และมีเกล็ดคู่หน้าสองคู่ เกล็ดซ้อนทับกันมีสีเหลือง น้ำตาล และดำอย่างสวยงาม อาหารเป็นพวกสาหร่าย หญ้าทะเล เพรียง และปลา ที่ชอบมากคือฟองน้ำทะเลและหอยเม่น พบมากบริเวณแนวประการัง 

4. เต่าหญ้าหรือเต่าสังกะสี ( OLIVE RIDLEY SEA TURTLE ) 

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lapidochelys lolyacea 
มีขนาดเล็กที่สุด อาศัยตามบริเวณชายฝั่งทะเล เมื่อโตเต็มที่กระดองมีขนาดประมาณ 60 - 70 เซนติเมตร ( 23 - 26 นิ้ว ) น้ำหนัก 35 - 40 กิโลกรัม ( 80 - 90 ปอนด์ ) กระดองสีน้ำตาลโอลิพ เรียงกันคล้ายสังกะสี ส่วนท้องสีเหลืองออกขาว อาหารกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น กุ้ง ปลา แมงกะพรุน ปู หอย สาหร่าย และหญ้าทะเล


   






没有评论

Blogger 提供支持.